วิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา สพม.เขต 16

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น ความหมาย ลักษณะสำคัญและ
                              ความสำคัญของกฎหมาย

 แนวการสอน
   สาระความรู้
 
1. สังคม ความหมาย
  2.นานาจิตตัง ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  3.บรรทัดฐาน  แบบเด็ดขาด/ ไม่เด็ดขาด เครื่องมือในการควบคุมสังคม
  4.มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น  ความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมาย
  5.กฎหมาย ความหมาย
  6.ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
  7.ความสำคัญของกฎหมาย

  กิจกรรมการเรียนการสอน
   1. สอนตามปกติในชั้นเรียน

        -บรรยาย (ใช้สื่อการสอน ICT / Projector) 
        -ดูภาพปัญหาสังคม หรือคลิปเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมาย
        -ตั้งประเด็นคำถาม
       -นักเรียนร่วมกันคิด ตอบคำถาม           
        -นักเรียนจดบันทึกสาระสำคัญลงสมุดบันทึก
        -แบบฝึกหัด

   2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอกห้องเรียน
        -ศึกษาค้นคว้าความรู้จากบล็อคประจำวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้
        -ศึกษาขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ข้อสอบออนไลน์       
        -สมัครสมาชิก

        -เข้าทำแบบทดสอบออนไลน์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
       
-นักเรียนทราบผลการสอบทันที และคะแนนถูกเก็บบันทึกเป็นรายบุคคล
        -ศึกษาขั้นตอนการสร้างบล็อค และสร้างบล็อครายบุคคล คนละ 1 บล็อค เตรียมไว้สำหรับ
         การบรรจุชิ้นงานตามที่ครูมอบหมาย

        
สังคม คือ กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณหนึ่งโดยมีความสัมพันธ์ภายใต้ ระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนด มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม มีประเพณีและวัฒนธรรม ที่เหมือนกันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม หน้าที่ของสังคม. เมื่อผู้คนได้มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการสัมพันธ์ติดต่อกันแล้ว ย่อมจะมีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะก่อความไม่สงบขึ้นในสังคม ดังนั้น สังคมในฐานะเป็นวิธีการแห่งความสัมพันธ์กันของมนุษย์ในสังคมจึงต้องมีภาระหนักดังต่อไปนี้
1. กำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้ใช้เป็นวิถีในการดำเนินชีวิตร่วมกัน เช่น กำหนดว่า
    ใครมีตำแหน่งหน้าที่อะไร มีกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติหรือห้ามมิให้ปฏิบัติ
2. จัดให้มีการอบรมเรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติตนให้ถูกต้องเป็นไป
    ตามบรรทัดฐานของสังคม
3. สร้างวัฒนธรรมและพัฒนาวัฒนธรรมของสังคม ทั้งในด้านที่เป็นวัตถุและวัฒนธรรมมิใช่วัตถุ
4. ผลิตสมาชิกใหม่ ทดแทนสมาชิกเดิมที่ล้มตายไปเพื่อให้สังคมดำรงอยู่ต่อไป
5. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม
6. ให้บริการและสวัสดิการแก่สมาชิกในสังคม เช่น บริการทางด้านสุขภาพอนามัย บริการเกี่ยวกับ
    สาธารณูปโภค สวัสดิการในการเลี้ยงดูผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัย
    รักษาความสงบภายในและการป้องกันภัยจาก ภายนอกสังคม
7. การควบคุมสังคม เพื่อให้ผู้คนดำเนินไปตามบรรทัดฐานของสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
8. การธำรงไว้ซึ่งความหมายและมูลเหตุจูงใจ คือ การเสริมสร้างให้สมาชิกของสังคมตระหนักถึงคุณค่า
    แห่งความหมายของการเป็นสมาชิกของสังคม อันเป็น มูลเหตุจูงใจ กระตุ้นให้มวลสมาชิกมีความรับ
    ผิดชอบต่อสังคม กล่าวคือ ปลูกฝังให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของสังคมโดย
    ส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและต่อครอบครัว
                ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" แปลมาจากภาษาลาตินว่า "Ubi societas, ibijus" หมายความว่า เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ จะต้องมีกฎระเบียบ แต่เดิมกฎระเบียบนั้นกำหนดมาจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนในสังคม คือเป็นกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและจารีตประเพณีที่ชุมชนนั้นประพฤติปฏิบัติถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นกฎหมายประเภทหนึ่ง แต่มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อสังคมนั้นเจริญเติบโตมากขึ้น สภาพของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาที่เกิดขึ้นในสัง คมนั้นสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะตัดสินได้ด้วยจารีตประเพณี จำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับแก้ปัญหาเป็นเรื่อง ๆ ไป เหตุฉะนี้ กฎหมายของสังคมสมัยใหม่จึงมีสองประเภท ประเภทหนึ่ง คือเป็นกฎหมายที่อยู่ในรูปของจารีตประเพณี อีกประเภทหนึ่งเป็นกฎหมายที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

1.1   ความหมายของ "กฎหมาย"

     พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย ได้ทรงกล่าวถึงคำว่ากฎหมายไว้ว่า "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินที่มีต่อราษฎรทั้งมวล เมื่อไม่ทำตามแล้ว ตามธรรมดาย่อมต้องได้รับโทษ"

     ศาสตราจารย์หยุด  แสงอุทัย นักกฎหมายที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งได้กล่าวว่า
    "กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐ ซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"


       จากหลักของผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย ที่ให้ความหมายของกฎหมายไว้เอาไว้อย่างมีเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น  จึงพอที่จะนำมาวินิจฉัยและสรุปความหมายของกฎหมายในปัจจุบันได้ว่า

       "กฎหมาย เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ  ั ซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษด้วย"


ลักษณะสำคัญของกฎหมาย

      จากความหมายของคำว่า "กฎหมาย" ข้างต้น จึงพอที่จะแยกลักษณะโดยทั่วไปของกฎหมายได้ดังนี้
1. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากรัฎฐาธิปัตย์
2. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปกับคนทุกคนที่อยู่ในเขตรัฐหรือในประเทศนั้น ๆ
3. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
4. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ


ลักษณะของกฎหมายแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ คือ

   1.กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ซึ่งจะแตกต่างกับการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตาม
คำสั่งหรือข้อบังคับนั้นมีลักษณะให้เราต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าเป็นการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือ เราจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ เช่นนี้เราก็จะไม่ถือเป็นกฎหมาย เช่น การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ หรือช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
     นอกจากดังกล่าวมาข้างต้น อาจมีบางกรณีที่กฎหมายให้อำนาจเฉพาะแก่บุคคลในการออกกฎหมายไว้
เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงที่ออกโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) ฯลฯ

    2.กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์หรือผู้ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ รัฐาธิปัตย์คือผู้มีอำนาจสูงสุด

ของประเทศ ในระบอบเผด็จการหรือระบอบการปกครองที่อำนาจการปกครองประเทศอยู่ในมือของ 

บุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด มีอำนาจออกกฎหมายได้ เช่น ระบอบ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของ

พระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นกฎหมาย ส่วนในระบอบประชาธิปไตยของเรา ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของ

ประชาชน กฎหมายจึงต้องออกโดยประชาชน คำถามมีอยู่ว่าประชาชนออกกฎหมายได้อย่างไร ก็ออก

โดยที่ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)และ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)นั่นเอง ดังนั้นการเลือก ส.ส. ในการเลือกทั่วไปนั้นนอกจากจะเป็นการ

เลือกคนเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ยังเป็นการเลือกตัวแทนของประชาชนเพื่อทำการออกกฎหมายด้วย

  3.กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป คือเมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

โดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใด

โดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำ

ในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร หรือหากได้กระทำความผิด

อาญา ก็อาจได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย โดยต้องให้

ประเทศซึ่งส่งฑูตนั้นมาประจำการดำเนินคดีแทน ฯลฯ
     4.กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการประกาศใช้แล้วแม้กฎหมายนั้นจะไม่ได้ใช้มานาน ก็ถือว่ากฎหมายนั้นยังมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอด กฎหมายจะสิ้นผลก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายนั้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงเป็น อย่างอื่นเท่านั้น

          5.กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ ถามว่าอะไรคือสภาพบังคับ นั่นก็คือการดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืน กฎหมายเพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นด้วย
             ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯนั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสีย หายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทาง แพ่งฯในคราวเดียวกันก็ได้            แต่กฎหมายบางอย่างก็อาจไม่มีสภาพบังคับก็ได้ เนื่องจากไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่อาจบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิให้แก่บุคคล หรือทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องได้ รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลที่มีอายุ 15 ปีแล้วสามารถทำพินัยกรรมได้ ฯลฯ หรือออกมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้จะไม่มีโทษทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด
   1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรัยบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ
เมื่อ ทุกคนรู้และปฎิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้วย่อมไม่เกิดปัญหา และข้อพิพาทระหว่างกันสังคมยอมเป็นระเบียบและมีความสุขอันจะเป็นผลดีต่อประเทศสืบต่อไป 
  2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
 ประเทศ ใดประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้การ บริหารประเทศเป็นไปด้วยดี และมีส่วนทำให้มีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ดังตัวอย่างเช่น  เมื่อประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของตนที่มีต่อประเทศชาติก็จะสา มารถปฎิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วน เช่นหน้าที่ในการป้องกันประเทศ   หน้าที่ในการเสียภาษี   หน้าที่ในการเป็นทหารรับใช้ชาติ    เป็นต้น
  3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฎิบัติตามกฎหมาย  
และ รู้ว่าตนมีสิทธิของตนอยู่เพียงไร  ไม่ไปล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น  ถ้าทุกคนปฎิบัติตามขอบเขตของกฎหมาย  ก็จะไม่การทะเลาะวิวาทกัน  เช่นทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการพูด  การเขียน  แต่ต้องปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขต  ไม่ดูหมินเหยียดหยามผู้อื่นเพราะอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันได้
 4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์  
เพราะ กฎหมายจะมีข้อบังคับแก่ทุกคน  ดังนั้นไม่ว่า    ใครก็ตามที่ประพฤติผิดกฎหมาย  หรือถูกผู้อื่นเอาเปรียบ  ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีฐานะร่ำรวย  ฐานะยากจน หรือเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานระดับสูงเพียงใดก็ตามไม่สามารถที่จะ หลีกเลี่ยงกฎหมายได้  ต้องรับโทษตามความผิด  
 5. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม
ใน กรณีที่เกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น  มีการฟ้องร้องคดีกัน  เพื่อขอความยุติธรรมจากศาล  ศาลก็ต้องตัดสินโดยยึดตัวบทกฎหมายเป็นหลักในการพิจารณาคดี  เพื่อให้ทุกคนได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกัน         (ความสำคัญของกฎหมายข้อมูลจาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2137 )                                   
ที่มาและประเภทของกฎหมาย




ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
  1.กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการ บัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น

  2.จารีตประเพณี
ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณีมาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
  3.หลักกฎหมายทั่วไป
ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมายได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้วมาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   1.จารีตประเพณี
ถือ ว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ

   2.คำพิพากษาของศาล
จารีต ประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้วก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆไปคำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   3.กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ในสมัยต่อ ๆมาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาลบางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
   4.ความเห็นของนักนิติศาสตร์
ระบบ กฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอเป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
   5.หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีซึ่งเรียกว่ามโนธรรม ของผู้พิพากษา(Squity)ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมาย ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร


    การแบ่งประเภทของกฎหมายอาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลักแต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าวๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่กฎหมายภายในซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศและกฎหมายภายนอกซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ  
   กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
   กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   1.ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
   1.2กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลอง จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
   2.ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
           

  2.1กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น


   2.2กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญาแต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
   
3.ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

     3.1กฎหมายสารบัญญัติ
ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
  3.2กฎหมายวิธีสบัญญัติ
ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบท บัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเองเช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวงกฎหมายวิธีพิจารณา คดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
   4.ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
   4.1กฎหมายเอกชน ได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น

  4.2กฎหมายมหาชน
ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐเป็นผู้ ปกครองจงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
   กฎหมายภายนอก กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
   1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกันเมื่อมี ความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคีซึ่งให้สัตยาบัน ร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
    2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งเมื่อ เกิดความขัดแย้งข้อพิพาทขึ้นจะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ

    3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
ได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือ รับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่งมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศ ของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่นคนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิด แล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น


1.2 วิวัฒนาการกฎหมายไทย  คลิกที่นี่

1.3    ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษรและขั้นตอนในการจัดทำกฎหมาย

ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร

          หมายถึงค่าบังคับที่ไม่เท่ากันของกฎหมายในแต่ละรูปแบบ เช่น รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดเพราะอำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางกฎหมายทั้งหลาย กฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่ต่ำ กว่า ฉะนั้นกฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำ ว่าจะบัญญัติให้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
          การศึกษาลำดับชั้นของกฎหมายก็เนื่องจากลำดับชั้นของกฎหมายมีความสำคัญ ในเรื่องการใช้การตีความกฎหมายและการยกเลิกกฎหมาย ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษรมักจะพิจารณาว่า กฎหมายแต่ละประเภทนั้นออกโดยอาศัยอำนาจจากที่ใด ดังนี้
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

          เป็นกฎหมายสูงสุด จึงเป็นแม่บทของกฎหมายทุกฉบับ ดังนั้นกฎหมายทุกประเภทจะออกมาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
    
 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

          หมายถึงกฎหมายที่อธิบายขยายความเพื่อประกอบเนื้อความในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ ละเอียดชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายและกำหนด พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีกระบวนการตราไม่แตกต่างจากพระราชบัญญัติ จะแตกต่างกันบ้างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ในระบบกฎหมายไทยต้องถือว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิได้มีสถานะสูง กว่ากฎหมายธรรมดา
    
 3. พระราชบัญญัติ

          เป็นกฎหมายที่มีชั้นลำดับรองจากรัฐธรรมนูญและเทียบเท่าพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายออกมาโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจในการ พิจารณาออกพระราชบัญญัติ เช่น เดียวกับพระราชกำหนดที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี พิจารณาออก พระราชกำหนดขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติเป็นการชั่วคราว ฉะนั้น พระราชบัญญัติก็ดี พระราชกำหนดก็ดีจึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
 4.  พระราชกำหนด
           คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชย์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินใน ระหว่างสมัยประชุมสภา
 5. พระราชกฤษฎีกา

          เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น (ได้แก่พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด) ได้ 2 กรณี ฉยั้นพระราชกฤษฎีกาที่อาศัยโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจะมีเนื้อหาที่ขัดหรือ แย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยกฎหมายแม่บท ก็จะมีเนื้อหาที่เกินขอบเขตของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้ไม่ได้เหมือนกัน
    
  6. กฎกระทรวง

          เป็นกฎหมายที่ออกมาโดยอาศัยกฎหมายแม่บท (ได้แก่พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายแม่บท ฉะนั้นกฎกระทรวงก็จะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
   7. กฎหมายที่องค์กรส่วนท้องถิ่นบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นออกโดยอาศัยอำนาจในการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นได้ต้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดจั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่นข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฉะนั้นข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ จึงขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้
แผนผังแสดงลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
          กรณีที่มีปัญหากฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญ มีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายเหล่านี้ก็ย่อมจะไม่มีผลใช้บังคับ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นใช้บังคับมิได้") โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดกับรัฐ ธรรมนูญ

  แหล่งข้อมูล http://e-book.ram.edu
ที่มาจาก : thethailaw.com/06:04:2012/03.02










ข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=LW104 06:04:2012/03.36

ความรู้ตามรัฐธรรมนูญใหม่ (2550)

ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ

1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
2. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ส่วนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 142 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและ กฎหมายที่ประธานศาล และประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน โดยจะเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาจะต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี

กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้
วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น
วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา
คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะให้คณะ กรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็ม สภาให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 เรียงลำดับมาตรารวมกันไป
วาระที่ 3 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 3 นี้ จะไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาต้อง พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นมีสาระสำคัญทางกฎหมายที่ต้องพิจารณา ในรายละเอียดตามแต่กรณีที่เกิดขึ้น เช่น กรณีรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หรือในส่วนการพิจารณาของวุฒิสภาอาจเกิดกรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้ แทนราษฎร กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม หรือกรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย

ข้อมูลจาก http://www.kpi.ac.th/