วิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา สพม.เขต 16

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4


 ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
          หมายถึงค่าบังคับที่ไม่เท่ากันของกฎหมายในแต่ละรูปแบบ เช่น รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดเพราะอำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางกฎหมายทั้งหลาย กฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่ต่ำ กว่า ฉะนั้นกฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำ ว่าจะบัญญัติให้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
          การศึกษาลำดับชั้นของกฎหมายก็เนื่องจากลำดับชั้นของกฎหมายมีความสำคัญ ในเรื่องการใช้การตีความกฎหมายและการยกเลิกกฎหมาย ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษรมักจะพิจารณาว่า กฎหมายแต่ละประเภทนั้นออกโดยอาศัยอำนาจจากที่ใด ดังนี้
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

          เป็นกฎหมายสูงสุด จึงเป็นแม่บทของกฎหมายทุกฉบับ ดังนั้นกฎหมายทุกประเภทจะออกมาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
    
 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

          หมายถึงกฎหมายที่อธิบายขยายความเพื่อประกอบเนื้อความในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ ละเอียดชัดเจน ตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายและกำหนด พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีกระบวนการตราไม่แตกต่างจากพระราชบัญญัติ จะแตกต่างกันบ้างในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น ในระบบกฎหมายไทยต้องถือว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิได้มีสถานะสูง กว่ากฎหมายธรรมดา
    
 3. พระราชบัญญัติ

          เป็นกฎหมายที่มีชั้นลำดับรองจากรัฐธรรมนูญและเทียบเท่าพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายออกมาโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้รัฐสภามีอำนาจในการ พิจารณาออกพระราชบัญญัติ เช่น เดียวกับพระราชกำหนดที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี พิจารณาออก พระราชกำหนดขึ้นใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติเป็นการชั่วคราว ฉะนั้น พระราชบัญญัติก็ดี พระราชกำหนดก็ดีจึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
 4.  พระราชกำหนด
           คือ กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี)
พระราชกำหนดเป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายที่ฝ่ายบริหารคือ พระมหากษตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรีตราขึ้นโดยอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
พระราชกำหนดมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชย์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีและเงินตรา เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินใน ระหว่างสมัยประชุมสภา
 5. พระราชกฤษฎีกา

          เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น (ได้แก่พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด) ได้ 2 กรณี ฉยั้นพระราชกฤษฎีกาที่อาศัยโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจะมีเนื้อหาที่ขัดหรือ แย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยกฎหมายแม่บท ก็จะมีเนื้อหาที่เกินขอบเขตของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้ไม่ได้เหมือนกัน
    
  6. กฎกระทรวง

          เป็นกฎหมายที่ออกมาโดยอาศัยกฎหมายแม่บท (ได้แก่พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด) เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายแม่บท ฉะนั้นกฎกระทรวงก็จะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
   7. กฎหมายที่องค์กรส่วนท้องถิ่นบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นออกโดยอาศัยอำนาจในการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่นได้ต้วยตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดจั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่นข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฉะนั้นข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ จึงขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้
แผนผังแสดงลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
          กรณีที่มีปัญหากฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญ มีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายเหล่านี้ก็ย่อมจะไม่มีผลใช้บังคับ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นใช้บังคับมิได้") โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดกับรัฐ ธรรมนูญ

  แหล่งข้อมูล http://e-book.ram.edu
ที่มาจาก : thethailaw.com/06:04:2012/03.02






ข้อมูลจาก http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=LW104 06:04:2012/03.36

ความรู้ตามรัฐธรรมนูญใหม่ (2550)

ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ

1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 139 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม้น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ
3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
2. การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ส่วนการเสนอร่างพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 142 ได้บัญญัติว่า การเสนอร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย
1) คณะรัฐมนตรี
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและ กฎหมายที่ประธานศาล และประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ
4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน โดยจะเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาจะต้องได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี

กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาเป็น 3 วาระตามลำดับ ดังนี้
วาระที่ 1 เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น
วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา
คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรจะให้คณะ กรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
คณะกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็ม สภาให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธานคณะกรรมาธิการด้วย การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาเป็นการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการและการ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 เรียงลำดับมาตรารวมกันไป
วาระที่ 3 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 3 นี้ จะไม่มีการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป และในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาต้อง พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอมานั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน ทั้งนี้เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษ กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไปยังวุฒิสภา ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็น ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน คำแจ้งของประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเป็นเด็ดขาด
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภาจะพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์ภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นมีสาระสำคัญทางกฎหมายที่ต้องพิจารณา ในรายละเอียดตามแต่กรณีที่เกิดขึ้น เช่น กรณีรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หรือในส่วนการพิจารณาของวุฒิสภาอาจเกิดกรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้ แทนราษฎร กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม หรือกรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย

ข้อมูลจาก http://www.kpi.ac.th/